แผนงาน/โครงการ และงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
นิคมสหกรณ์
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี
แผนงานพื้นฐาน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ผลผลิต สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ
กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กิจกรรมรอง สนับสนุนการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ (อำนวยการ)
แผนปฏิบัติการ (Action plan)
นิคมสหกรณ์ท่ายาง
นิคมสหกรณ์ท่ายาง
นางกรรณิการ์ อนันตศิริ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์ท่ายาง
นางสาวชัชรี แป้นจันทร์อินทร์ ตำแหน่ง นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ
นางสาวทัศนีย์ คชพงษ์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์
นิคมสหกรณ์ชะอำ
นิคมสหกรณ์ชะอำ
นางสาวสุธาทิพย์ สัจจมาศ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์ชะอำ
นางสาวชุตินันท์ เสมาใหญ่ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวฐิติรัตน์ จงเอกวุฒิ ตำแหน่ง นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ
นางสาวปณิตา ศรีสวัสดิ์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์
กิจกรรมรอง ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์
แผนปฏิบัติการ (Action plan)
นิคมสหกรณ์ท่ายาง
ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์
นิคมสหกรณ์ชะอำ
ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์
แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม
โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กิจกรรมหลักพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กิจกรรม 4 : อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
แผนปฏิบัติการ (Action plan)
นิคมสหกรณ์ท่ายาง
อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
นิคมสหกรณ์ชะอำ
อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
แผนงานยุทธศาสตร์เกษตรสร้างมูลค่า
โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร
กิจกรรมหลักส่งเสริมเกษตรปลอดภัยในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (คู่มือ)
แผนปฏิบัติการ (Action plan)
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์
การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรปลอดภัยในสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่นคิมสหกรณ์
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร
กิจกรรมหลักส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (คู่มือ)
แผนปฏิบัติการ (Action plan)
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์
ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีเป้าหมาย คือ สหกรณ์นิคมท่ายาง จำกัด
โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
กิจกรรมหลักส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในสถาบันเกษตรกร (คู่มือ)
แผนปฏิบัติการ (Action plan)
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์
ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในสถาบันเกษตรกร มีเป้าหมาย คือ สหกรณ์นิคมชะอำ จำกัด
แผนงาน/โครงการ และงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
นิคมสหกรณ์
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี
แผนงานพื้นฐาน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ผลผลิต สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ
กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กิจกรรมรอง ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ
นิคมสหกรณ์ชะอำ นิคมสหกรณ์ท่ายาง
กิจกรรมรอง ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์
นิคมสหกรณ์ชะอำ นิคมสหกรณ์ท่ายาง
แผนงานยุทธศาสตร์ เสริมสร้างพลังทางสังคม
โครงการ : ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กิจกรรมหลัก พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กิจกรรมรอง ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กิจกรรม 4 อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมากจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นิคมสหกรณ์ชะอำ นิคมสหกรณ์ท่ายาง
แผนงานยุทธศาสตร์ เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์
กิจกรรมหลัก แก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิต สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ มีเป้าหมาย คือ นิคมสหกรณ์ชะอำ
โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กิจกรรมหลัก ช่วยเหลือด้านหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กิจกรรมรอง ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรสมาชิกสหกรณ/กลุ่มเกษตรกร
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ มีเป้าหมาย คือ นิคมสหกรณ์ชะอำ
แผนงานยุทธศาสตร์ การเกษตรสร้างมูลค่า
โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
กิจกรรมหลัก ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในสถาบันเกษตรกร
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ มีเป้าหมาย คือ นิคมสหกรณ์ชะอำ
โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร
กิจกรรมหลัก ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ มีเป้าหมาย คือ นิคมสหกรณ์ท่ายาง
โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน
กิจกรรมหลัก พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรตลอดห่วงโซ่อุปทาน
กิจกรรมรอง พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรตลอดห่วงโซ่อุปทาน
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ มีเป้าหมาย คือ นิคมสหกรณ์ท่ายาง
โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร
กิจกรรมหลัก ส่งเสริมเกษตรปลอดภัยในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กิจกรรมรอง การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรปลอดภัยในสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่นิคมสหกรณ์
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ มีเป้าหมาย คือ นิคมสหกรณ์ท่ายาง
แผนงาน/โครงการ และงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
นิคมสหกรณ์
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี
แผนงานพื้นฐาน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ผลผลิต สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ
กิจกรรมรอง ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ (ฉบับสมบูรณ์)
นิคมสหกรณ์ชะอำ นิคมสหกรณ์ท่ายาง
กิจกรรมรอง ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์
นิคมสหกรณ์ชะอำ นิคมสหกรณ์ท่ายาง
แผนงานยุทธศาสตร์ เสริมสร้างพลังทางสังคม
โครงการ ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กิจกรรมหลัก พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กิจกรรมรอง ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ฉบับสมบูรณ์)
กิจกรรม 4 อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมากจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นิคมสหกรณ์ชะอำ นิคมสหกรณ์ท่ายาง
แผนงานยุทธศาสตร์ เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กิจกรรมหลัก ช่วยเหลือด้านหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กิจกรรมรอง ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรสมาชิกสหกรณ/กลุ่มเกษตรกร
แผนงานยุทธศาสตร์ การเกษตรสร้างมูลค่า
โครงการ ส่งเสริมเกษตรปลอดภัยในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กิจกรรมหลัก ส่งเสริมเกษตรปลอดภัยในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
กิจกรรมรอง พัฒนาคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐาน GAP
ไม่มีกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์
การออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
การออกหนังสืออนุญาต (กสน.3) นิคมสหกรณ์ชะอำ
นิคม | พื้นที่โครงการ(ไร่) | พื้นที่จัดสรร(ไร่) | พื้นที่จัดสรรไม่ได้(ไร่) | ผลการออก กสน.3(ไร่) | พิ้นที่คงเหลือ(ไร่) |
นิคมสหกรณ์ชะอำ | 33,000 | 25,000 | 8,000 | 26,500 | - |
การออกหนังสือแสดงการประโยชน์ (กสน.5) นิคมสหกรณ์จังหวัด
นิคม | พื้นที่โครงการ(ไร่) | พื้นที่จัดสรร(ไร่) | พื้นที่จัดสรรไม่ได้(ไร่) | ผลการออก กสน.5(ไร่) | พิ้นที่คงเหลือ(ไร่) |
นิคมสหกรณ์ชะอำ | 33,000 | 25,000 | 8,000 | 11,611 | 13,381 |
ขั้นที่ 1 ขอคำแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด
คณะบุคคลซึ่งประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์ควรมีตัวแทนในการประสานงานกับสหกรณ์จังหวัด เพื่อให้ได้แนวคิดว่าควรจัดตั้งสหกรณ์หรือไม่ และควรเป็นสหกรณ์ประเภทใด พร้อมคำแนะนำการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ด้วย
***ติดต่อขอคำแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ได้ทั่วประเทศ***
ขั้นที่ 2 ประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิก
ผู้ประสานงานในขั้นที่ 1 ต้องจัดประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ โดยมีวาระการประชุมดังนี้
1. คัดเลือกคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ไม่น้อยกว่า 10 คน (ไม่ควรมากกว่า 15 คน)
2. ให้การศึกษาอบรม เรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ วิธีการทำธุรกิจ
3. เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภท และวัตถุประสงค์,แผนดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมของสหกรณ์
4. เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างข้อบังคับสหกรณ์
***เชิญสหกรณ์จังหวัดหรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
ขั้นที่ 3 ประชุมคณะผู้จัดตั้ง
คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งได้รับคัดเลือกจากขั้นที่ 2 ประชุมโดยมีวาระการประชุม ดังนี้
1. เลือกประเภทสหกรณ์ และกำหนดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
2. กำหนดระยะเวลาในการรวบรวมใบสมัครสมาชิก เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิก
3. กำหนดแผนการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์ และควรให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน
4. พิจารณาร่างข้อบังคับสหกรณ์เพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพิจารณา
***เชิญสหกรณ์สหกรณ์จังหวัดหรือ ตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
ขั้นที่ 4 ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก
เมื่อคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำเนินการตามขั้นที่ 3 เสร็จแล้ว ต้องประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยมีวาระการประชุมดังนี้
1. พิจารณากำหนดข้อบังคับของสหกรณ์
2. แจ้งประเภทของสหกรณ์ที่ได้เลือก รวมทั้งวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
3. แจ้งแผนดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมของสหกรณ์
***เชิญสหกรณ์จังหวัดหรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
***เชิญหัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
ขั้นที่ 5 ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสหกรณ์
คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องจัดทำเอกสารต่าง ๆ และยื่นขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสหกรณ์ โดยยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานสหกรณ์อำเภอ หรือสหกรณ์จังหวัดในพื้นที่เอกสารที่จะยื่นประกอบด้วย
1. คำขอจดทะเบียนที่คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ได้ลงลายมือชื่อแล้ว
2. สำเนารายงานการประชุม ครั้งละ 2 ชุด คือ
► การประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ (ตามขั้นที่ 2)
► การประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ (ตามขั้นที่ 4)
3. แผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจ หรือกิจกรรมจำนวน 2 ชุด
4. บัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก พร้อมลายมือชื่อและจำนวนหุ้นที่จะถือ จำนวน 2 ชุด
***ข้อบังคับตัวจริง 4 ฉบับ และสำเนา 6*
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์
พระราชกฤษฏีกา
จัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์
ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2500
*******
ภูมิพลอดุลยเดช ป .ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ .ศ . 2500
เป็นปีที่ 12 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และ จังหวัดสมุทรปราการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 95 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพุทธศักราช 2485 จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูป สหกรณ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ
พ.ศ. 2500 ”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมเกลือในจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดธนบุรี พุทธศักราช 2485
มาตรา 4 ให้จัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และ จังหวัดสมุทรปราการ ภายในแนวเขตที่ดินตามแผนที่ท้ายพระราช
กฤษฎีกานี้ ซึ่งคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ได้อนุมัติไห้สงวนไว้แล้วตามความในมาตรา 20 (4) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
มาตรา 5 ให้อธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดำเนินการจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือนี้
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์มีอำนาจแต่งตั้งไม่น้อยกว่า 3 คนเพื่อพิจารณาสอบสวน คัดเลือกบุคคลเข้าครอบครองที่ดินเพื่อเป็นสมาชิกในรูปสหกรณ์
จนกว่าสหกรณ์นั้นจะได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยสหกรณ์แล้ว
มาตรา 7 บุคคลที่จะเข้าครอบครองที่ดินเพื่อเป็นสมาชิกในสหกรณ์นิคมกสิกรรมต้อง
(ก) มีสัญชาติไทย
(ข) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
(ค) ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
มาตรา 8 บุคคลที่จะเข้าครอบครองที่ดินเพื่อเป็นสมาชิกในสหกรณ์นิคมเกลือต้อง
(ก) มีคุณสมบัติตามมาตรา 7 (ก) (ข) (ค) และ (ฉ)
(ข) เคยทำนาเกลือมาแล้ว
(ค) ไม่มีนาเกลือของตนเอง หรือมีอยู่แล้วเป็นจำนวนเล็กน้อยไม่พอทำกิน
มาตรา 9 ให้อธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินมีอำนาจอนุญาตให้สมาชิกในสหกรณ์เข้าครอบครองทำประโยชน์ ในที่ดินตามมาตรา 4 ตามกำลังแห่งครอบครัวของสมาชิกนั้นไม่ เกินรายละ 50 ไร่
มาตรา 10 ให้เรียกเก็บเงินเพื่อช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปจากสมาชิกซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินนั้น ในอัตราซึ่งอธิดีกรมสหกรณ์ที่ดินจะได้กำหนดไม่เกินไร่ละ 50 บาท โดยผ่อนชำระเป็นรายปี ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ และต้องเริ่มต้นชำระงวดแรกอย่างช้าในปีที่ 5 นับแต่ปีที่ได้เข้าเป็นสมาชิก ถ้าปีใด ไม่สามารถชำระได้ภายในกำหนดโดยมีเหตุผลอันสมควรอธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดินจะผ่อนผันให้ชำระในปีถัดไปก็ได้
มาตรา 11 เมื่อสมาชิกทั้งหมดของสหกรณ์ใดในนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือ ตามพระราชกฤษฎีกา นี้ ได้ทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้เข้าครอบครองเต็มเนื้อที่แล้ว และ ได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปตามความในมาตรา 10 เสร็จสิ้น ทั้งได้ชำระหนี้ เงินกู้ประเภทระยะเวลายาวซึ่งได้กู้ไปจากสหกรณ์ครบถ้วนแล้ว สมาชิก แต่ละคนมีสิทธิขอหนังสือตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พุทธศักราช 2485 จากอธิบดีกรมสหกรณ์ที่ดิน
มาตรา 12 พระราชกฤษฎีกานี้ไม่กระทบกระทั่งสิทธิในการครอบครองที่ดินของสมาชิกสหกรณ์นิคมกสิกรรมและนิคมเกลือซึ่งได้จดทะเบียนก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ
มาตรา 13 เมื่อสมาชิกทั้งหมดของสหกรณ์ใดในนิคมเกลือตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมเกลือใน จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดธนบุรี พุทธศักราช 2485 ได้ทำประโยชน์ในที่ดินได้ครอบครองเต็มเนื้อที่แล้ว และได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไป ทั้งได้ชำระหนี้เงินกู้ประเภทระยะเวลายาวซึ่งได้กู้ไปจากสหกรณ์ครบถ้วนแล้ว ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นแล้วให้มีสิทธิตามมาตรา 11 แห่งพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 14 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
--------------------------------
หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากที่ดินที่จัดตั้งสหกรณ์นิคมเกลือซึ่งกรมสหกรณ์ (เดิม) ได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้น ตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมเกลือในจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดธนบุรี พ.ศ. 2485 มีอาณาเขตติดต่อเป็นผืนเดียวกับที่ดินที่กระทรวงการคลังได้เคยหวงห้ามไว้ บางตอนมีคุณภาพเหมาะสมแก่การกสิกรรม และบางตอนก็เหมาะสมแก่การทำนาเกลือ สมควรดำเนินการจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์ขึ้นโดยตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมกสิกรรมและนิคมเกลือในรูปสหกรณ์ ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2500
คัดจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอนที่ 66 วันที่ 6 สิงหาคม 2500 หน้า 1200
ที่ตั้งและสภาพพื้นที่นิคมสหกรณ์ชะอำ
นิคมสหกรณ์ชะอำ ตั้งอยู่เลขที่ 2/2 หมู่ 3 ตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ทิศเหนือ จด คลองชลประทานสายใหญ่ 2
ทิศใต้ จด คลองชลประทานสายใหญ่ 1
ทิศตะวันออก จด ทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก จด ทางรถไฟสายใต้
นิคมสหกรณ์ชะอำ มีพื้นที่โครงการทั้งหมดประมาณ 33,000 ไร่ พื้นที่ดำเนินงานในเขตตำบลหนองขนาน อำเภอเมือง ตำบลปึกเตียน ตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง และ ตำบลหนองศาลา ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี รวม 5 ตำบล 3 อำเภอ และ 21 หมู่บ้าน
สภาพภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มอยู่ในเขตชลประทานเขื่อนเพชร มีคลองส่งน้ำสายใหญ่ 2 สาย คลองซอยสายต่าง ๆ จึงทำให้มีน้ำในการทำการเกษตรสมบูรณ์ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา
สภาพดิน ส่วนมากเป็นดินปนทราย และดินเค็ม
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 87% ของปริมาณน้ำฝนทั้งปีโดยเฉลี่ย 827.60 มิลลิเมตร
แหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้ตลอดปี ได้แก่ คลองชลประทาน สาย 1 และสาย 2
สำนักงานนิคมสหกรณ์ชะอำ
2/2 หมู่ 3 ต.หนองจอก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี รหัสไปรษณี 76130
โทร 0-3270-6569
E-Mail :
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี
เลขที่ 3 หมู่ที่ 1 ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 76000
โทรศัพท์. 0 3242 4307 โทรสาร. 0 3242 5260 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี
Copyright © 2023 by Phetchaburi Provincial Cooperative Office